วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)

 http://www.neric-club.com/data.php?page=31&menu_id=76 ได้รวบรวมความหมายของวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท ไว้ว่า เป็นกระบวนการสอนที่เน้นการทบทวนประจำวัน ประจำสัปดาห์และประจำเดือน มีการตรวจสอบการบ้าน และมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามจุดประสงค์การเรียนรู้สั้นๆ    เข้าใจง่ายได้คำตอบที่ถูกต้องรวดเร็วและแน่นอน
                                ขั้นตอนของวิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท
                ขั้นตอนที่ 1 ทบทวนประจำวันและตรวจสอบการบ้าน 
มีขั้นตอนดังนี้
1.1   ตรวจการบ้าน (ครูอาจให้นักเรียนช่วยกันตรวจการบ้าน)
1.2   สอนใหม่เมื่อจำเป็นในเนื้อหาที่สำคัญๆ
1.3   ทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่และครูอาจซักถามเพิ่มเติม
1.4   ฝึกปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 2 การนำเสนอสาระความรู้ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
2.1 แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้สั้นๆแต่เข้าใจง่าย
2.2 เสนอโครงสร้างและภาพรวมของสาระความรู้
2.3   เริ่มสอนเนื้อหาทีละน้อยทีละขั้น
2.4   ซักถามนักเรียนเพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจ
2.5   เน้นประเด็นที่สำคัญให้นักเรียนทราบ
2.6   อธิบายให้ตัวอย่าง อย่างชัดเจน
2.7   สาธิตและทำแบบให้ดู
2.8   อธิบายรายละเอียดและยกตัวอย่างประกอบประเด็นเนื้อหาที่สำคัญๆ
ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติโดยครูคอยแนะนำ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
3.1    การฝึกนักเรียนในระยะแรกครูควรคอยช่วยเหลือแนะนำโดยตลอด
3.2   ซักถามนักเรียนบ่อยๆถามคำถามให้มากเพื่อให้นักเรียนตอบและให้ฝึกอย่างเพียงพอ
3.3   คำถามที่ถามควรเกี่ยวข้องกับเนื้อหาใหม่หรือทักษะใหม่
3.4   ครูตรวจสอบความเข้าใจโดยประเมินจากคำตอบของนักเรียน
3.5   ระหว่างตรวจสอบความเข้าใจ ครูจะให้คำอธิบายเพิ่มเติม ให้ข้อมูลย้อนกลับหรืออธิบายซ้ำ
(ถ้าจำเป็น)  และให้นักเรียนมีการตอบสนองและให้ข้อมูลย้อนกลับ  ครูควรแน่ใจว่านักเรียนคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
3.6   การให้ฝึกปฏิบัติในระยะแรก ครูควรคอยแนะนำจนนักเรียนสามารถปฏิบัติเองโดยลำพังภายหลัง
3.7    การฝึกปฏิบัติควรทำอย่างต่อเนื่องจนกว่านักเรียนจะชำนาญถึงขั้นที่นักเรียนนักเรียนทำได้ 80 % ในขั้นตอนนี้มีข้อเสนอแนะในการตรวจสอบความเข้าใจเพื่อจะได้แก้ไขความผิดพลาด ความบกพร่อง ด้วยกิจกรรมดังนี้
                (1) เตรียมคำถามไว้ล่วงหน้าให้มากเพื่อถามให้นักเรียนตอบอย่างทั่วถึงและคำตอบที่ได้ควรเป็นคำตอบที่ตรงประเด็นสำคัญ หรือตรงตามในเรื่องหรือทักษะที่สอน
                (2) ให้นักเรียนสรุปกฎหรือกระบวนการด้วยตนเอง
                (3) ให้นักเรียนตอบโดยเขียนคำตอบในสมุด
                (4) หลังจากการสอน ครูควรให้นักเรียนเขียนสาระหรือประเด็นสำคัญของบทเรียน
และสรุปประเด็นสำคัญลงในสมุด
ดังนั้นการตรวจสอบความเข้าใจจึงมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาสาระที่
เรียนผ่านมาและย้ำเพื่อความเข้าใจของผู้เรียน
ขั้นตอนที่ 4 การแก้ไขให้ถูกต้อง และการให้ข้อมูลย้อนกลับ มีขั้นตอน ดังนี้
4.1 ครูควรรับรู้และตอบรับคำตอบที่รวดเร็วและมั่นใจของนักเรียนอย่างสั้นๆ เช่น ถูกต้อง หรือคำชมอื่นๆ
4.2 คำตอบที่ลังเลของนักเรียนครูอาจต้องให้ข้อมูลย้อนกลับ ให้ตอบอย่างมั่นใจ
4.3 การตอบผิดหรือปฏิบัติผิดของนักเรียนบ่งบอกถึงความจำเป็นในการฝึกเพิ่ม
4.4 ตรวจสอบติดตามบทเรียนของนักเรียนเสมอ
4.5 พยายามให้การตอบสนองทุกคำถามที่นักเรียนถาม
4.6 การแก้ไขการตอบผิดของนักเรียน ครูควรให้ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ถามคำถามให้ง่ายขึ้น ให้คำแนะนำ อธิบาย ทบทวน หรือสอนใหม่ในขั้นสุดท้าย
4.7 ถามคำถามซ้ำจนกว่าจะถูกต้อง
4.8 การให้ฝึกปฏิบัติโดยครูคอยแนะนำการแก้ไขควรทำต่อไป จนกว่าครูจะแน่ใจว่านักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน
4.9 ให้คำชมเชยแต่พอควร ในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง จะทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าการชมเชยพร่ำเพรื่อ
            ในประเด็นของการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของนักเรียนมีข้อเสนอเพื่อการตอบสนองคำตอบของนักเรียน ดังนี้
                (1) ตอบถูกต้องเร็วด้วยความมั่นใจในคำตอบโดยปกติพฤติกรรมนักเรียน จะปรากฎในช่วง
การเรียนตอนแรกๆ ตอนที่มีการทบทวน ครูควรถามคำถามใหม่ๆ พร้อมทั้งมีการฝึกเพิ่มเติมและกล่าวคำชมเชย
(2) ตอบถูกแต่ลังเลไม่แน่ใจ จะปรากฎในการเรียนในตอนต้นหรือในช่วงให้ฝึกโดยมีครูคอย
แนะนำ ครูควรให้ข้อมูลย้อนกลับหรือตอบสนองกลับด้วยคำพูดสั้นๆ เช่น ถูกต้อง ดีมาก การให้ข้อมูลย้อนกลับในลักษณะนี้ครูควรให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจว่าคำตอบนั้นถูกต้องเพราะอะไร
(3) ถ้านักเรียนตอบผิดเพราะสะเพร่าควรให้การทบทวนแก้ไขและให้ข้อมูลย้อนกลับทันที
(4) ตอบผิดเพราะไม่มีความรู้ ไม่จำเนื้อหาสาระ  นักเรียนที่ตอบผิดในช่วงต้นซึ่งเป็นระยะการ
เรียนเนื้อหาสาระใหม่ ชี้ให้เห็นว่า มีความรู้ไม่แน่นพอ ไม่รู้จริงเกี่ยวกับสาระความรู้นั้น ครูควรแก้ไขดังนี้
(4.1) ครูชี้นำเสนอแนะแนวทางเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง โดยถามคำถามใหม่และง่ายพร้อมทั้งยกตัวอย่างและเหตุผลประกอบ
(4.2) สอนใหม่ สำหรับนักเรียนที่ไม่เข้าใจ
(4.3) บอกเป็นนัย ถามคำถามที่ง่ายๆ หรือทำการสอนใหม่
ดังนั้น การให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้ประการหนึ่ง
ขั้นตอนที่  5 การฝึกอย่างอิสระ (ฝึกปฏิบัติที่โต๊ะ)  มีข้อเสนอแนะการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
5.1   ให้นักเรียนฝึกอย่างเพียงพอ
5.2   ฝึกทักษะเนื้อหาสาระที่เรียนไปแล้ว
5.3   ฝึกเพื่อให้เกิดความชำนาญ
5.4   การฝึกปฏิบัติโดยลำพัง ควรปฏิบัติได้ถูกต้อง 95%
5.5   นักเรียนจะตื่นตัว ถ้าการให้ฝึกปฏิบัติ ได้โดยมีการติดตามตรวจสอบ
5.6   กระตุ้นให้นักเรียนมีความรับผิดชอบในงานที่ตนเองปฏิบัติ และมีความกระตือรือร้นเสมอ
การฝึกปฏิบัติที่โต๊ะเพื่อให้การปฏิบัติกิจกรรมโดยลำพังที่มีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติดังนี้
           ( 1) ครูควรเดินดูนักเรียนทำงาน ให้ข้อมูลย้อนกลับ ถามคำถามและอธิบายสั้นๆ อย่างทั่วถึง
            (2)  ครูควรจัดที่นั่งให้มองเห็นนักเรียนทั้งชั้นในขณะปฎิบัติงาน
            (3) ครูควรวางแผนการปฏิบัติกิจกรรมโดยให้นักเรียนฝึกปฏิบัติอย่างอิสระและประสบผลสำเร็จ ครูต้องจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามจุดประสงค์ มีการเตรียมการฝึกให้พร้อม และเพียงพอสำหรับนักเรียนทุกคน และต้องเป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ โดยความมุ่งหวังให้นักเรียนสามารถตอบได้โดยอัตโนมัติ โดยการที่ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติมาก ๆ
            ขั้นตอนที่  6 การทบทวนรายสัปดาห์และรายเดือน   มีข้อเสนอการจัดการเรียนรู้ดังนี้
6.1 ทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้วอย่างเป็นระบบโดยทบทวนเป็นประจำสัปดาห์ และทบทวนประจำเดือน การทบทวนของครูช่วยให้ครูได้ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน และเพื่อให้แน่ใจว่าความรู้ทักษะที่เรียนไปแล้ว   นักเรียนรู้และปฏิบัติเข้าใจเป็นอย่างดีและเพื่อความคงทนของความรู้
6.2   ตรวจการบ้านที่ให้ทำ
6.3   ทดสอบบ่อย ๆ
6.4   สอนใหม่ในเนื้อหาที่บกพร่อง

                ศริดา  เอียดแก้ว ( 2548 : 22 ) ได้กล่าวถึงวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทไว้ว่า เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความจำ ความเข้าใจเนื้อหาและสามารถนำไปใช้ได้โดยมี 6 ขั้นตอนในการสอน เหมาะกับเนื้อหาที่เป็นความรู้ หรือหลักการ ซึ่งมี 6 ขั้นตอน
                1. การทบทวนเนื้อหาและการบ้าน
                2. การเสนอเนื้อหาใหม่
                3.การฝึกปฎิบัติโดยครูคอยแนะนำอย่างใกล้ชิด
                4. การให้ข้อมูลย้อนกลับและการแก้ไขข้อบกพร่อง
                5. การให้ฝึกปฏิบัติโดยอิสระตามลำพัง
                6. การทบทวนเป็นรายสัปดาห์ และเป็นรายเดือน


 สายัณห์ พลแพน ( 2556 : 5 ) ได้กล่าวถึงวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทไว้ว่า เป็นรูปแบบวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท หรือการ จัดการเรียนการสอนแบบชัดแจ้ง พัฒนาโดยโรเซ็นซายน์ และสตีเวนส์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ
                1.ขั้นทบทวนความรู้เดิมและตรวจการบ้าน
                2. ขั้นนำเสนอเนื้อหาสาระหรือทักษะใหม่
                3. ขั้นทำให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ
                4. ขั้นให้ข้อมูลป้อนกลับและแก้ไขการปฏิบัติของผู้เรียน
                5. ขั้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ
                6. ขั้นการทบทวนฝึกปฏิบัติรายสัปดาห์และรายเดือน ( ทิศนา แขมมณี. 2551: 117 )
 เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการเข้าใจจริงและการฝึกจนเกิดทักษะ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเกิดความมั่นใจ สามารถนาไปใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาในระดับสูงขึ้นได้ดี สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ( Rosenshine. 1986: 60 ) และสอดคล้องกับ วนิดา สุขสาลี (2012: 556) ที่กล่าวว่าการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และความจำนั้น ต้องอาศัยเทคนิคและวิธีการต่างๆที่น่าสนใจ เข้ามาช่วยในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ไม่ใช่การสอนที่ครูเป็นเพียงผู้ถ่ายทอดความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายและนักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ จึงจะเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง




    สรุปวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท
                จากข้างต้น สรุปได้ว่า วิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน
                1. ขั้นทบทวนความรู้เดิมและตรวจการบ้าน คือ ให้ครูทบทวนความรู้ ก่อนที่จะเริ่มเรียนความรู้ใหม่ โดยมีการฝึกปฏิบัติ หรือการทำแบบฝึกทักษะ
                2. การนำเสนอสาระความรู้ใหม่ คือ ครูจะชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้สั้นๆ แต่เข้าใจง่าย จะมีการเริ่มเข้าเนื้อหาทีละน้อย เน้นสอนประเด็นสำคัญ โดยอธิบายและยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน
                 3. การฝึกปฎิบัติโดยมีครูแนะนำ คือ จะเป็นการให้ทำแบบฝึกหัด การให้นักเรียนถามหรือตอบคำถามหลายๆ คำถาม เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
                4. กาขั้นให้ข้อมูลป้อนกลับและแก้ไขการปฏิบัติของผู้เรียน คือ ให้ครูตอบกลับคำตอบของนักเรียนให้ถูกต้อง มั่นใจ หรือจะให้ข้อมูลเพิ่มเติม และควรจะมีคำชมเชยให้นักเรียนเล็กน้อย
                5. การฝึกอย่างอิสระ คือ ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติโดยลำพัง และสามารถปฏิบัติถูกต้อง 95
% หรือเกิดความชำนาญในการฝึก
                6.  การทบทวนรายสัปดาห์และรายเดือน คือ ให้ครูทบทวนเป็นประจำสัปดาห์ และอาทิตย์ เพื่อให้แน่ใจว่าความรู้ ทักษะที่เรียนไปแล้ว นักเรียนรู้และปฏิบัติเข้าใจเป็นอย่างดีและเพื่อมีความรู้ที่คงทน
                ดังนั้น การทำวิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท 6 ขั้นตอน ทำให้เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นการเข้าใจจริง และการฝึกจนเกิดเป็นทักษะ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเกิดความมั่นใจ สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาในระดับสูงขึ้นได้ดี





ที่มา
                 http://www.neric-club.com/data.php?page=31&menu_id=76 . วิธีการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท . เข้าถึงเมื่อ 17 กรกฎาคม 2558.
                ศิรดา เอียดแก้ว
. ( 2548 ). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
เรื่องชนิดและหน้าที่ของคา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยวิธีการสอน
แบบเอ็กซ์พลิซิท กับวิธีการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
               
สายัณห์ พลแพน. ( 2556 ).  ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบเอ็กซ์พลิซิทที่เน้นการใช้ตัวแทน เรื่อง ระบบจานวนเต็ม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น