วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทดลองจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง

Super User ( http://www.krutermsak.in.th/index.php/2013-02-14-03-15-32/2-uncategorised/18-2013-02-22-06-02-07 ) ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง หมายถึง การสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง ที่ผู้เรียน อาจประสบในภายหลังการเรียนด้วยสถานการณ์จำลองนี้ จะช่วยให้เกิดการถ่ายโยงความรู้ที่ดีและได้ผลมากที่สุด ผู้เรียนจะได้คิดแก้ปัญหาจากสถานการณ์จำลองทำให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้การใช้สถานการณ์จำลองได้ใช้มานานแล้ว ในวงการณ์ทหารและวิทยาศาสตร์ดังตัวอย่างสถานการณ์จำลองที่มีชื่อเสียงมาก ได้แก่การฝึก“The Link Trainer” เพื่อฝึกบินในสงครามโลกครั้งที่ 2 การฝึกนักบินอวกาศในสภาพแวดล้อมที่เสมือนกับอยู่ในยานอวกาศและบนดวงจันทร์ ก็เป็นสถานการณ์จำลองที่ได้ผลเป็นอย่างยิ่ง ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหรัฐอเมริกาก็จัดการสอนขับรถยนต์โดยการสร้างสถานการณ์จำลองขึ้น เพื่อช่วยให้นักเรียนเป็นจำนวนมากสามารถเรียนขับรถในชั้นเรียนได้(สุจริต เพียรชอบ 2531: 251)

          ระวิ แก้วสุกใส ( http://rawikaewsuksai.blogspot.com/2012/12/simulation-2552-370-373.html ) ได้กล่าวถึงวิธีสอนโดยการใช้สถานการณ์จำลอง คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ โดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง

          มุกดาภรณ์ พนาสรรค์ ( http://www.sahavicha.com/?name=media&file=readmedia&id=3344 ) ได้กล่าวถึงวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง หมายถึง วิธีสอนที่จำลองสถานการณ์จริงมาไว้ใน ชั้นเรียน โดยพยายามทำให้เหมือนจริงที่สุด มีการกำหนดกติกาหรือเงื่อนไข แล้วแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มให้ เข้าไปเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ๆ ด้วยกิจกรรมนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการเผชิญกับปัญหา จะต้องมีการตัดสินใจและใช้ไหวพริบ



         สรุปการ
ทดลองจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง
         จากข้างต้น สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง คือ การสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการถ่ายโยงความรู้ที่ดีและได้ผลมากที่สุด ผู้เรียนจะได้คิดแก้ปัญหาจากสถานการณ์จำลองทำให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้อย่างเกิดประโยชน์


ที่มา
Super User . [online]  http://www.krutermsak.in.th/index.php/2013-02-14-03-15-32/2-uncategorised/18-2013-02-22-06-02-07 . การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง. เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2558.
ระวิ แก้วสุกใส. [online] http://rawikaewsuksai.blogspot.com/2012/12/simulation-2552-370-373.html . วิธีการสอนโดยการใช้สถานการณ์จำลอง. เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2558.
มุกดาภรณ์ พนาสรรค์. [online] http://www.sahavicha.com/?name=media&file=readmedia&id=3344 . วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง. เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2558.


การประเมินผลการเรียนรู้

                สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ (2551) ได้กล่าวถึงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน (Classroom Assessment) คือ กระบวนการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ ตีความ บันทึกข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมินทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยในการดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของการจัดการเรียนการสอนนับตั้งแต่ก่อนการเรียนการสอน ระหว่างการเรียนการสอน และหลังการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับพฤติกรรมที่ต้องการวัด นำผลที่ได้มาตีค่าเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดในตัวชี้วัดของมาตรฐานสาระการเรียนรู้ของหลักสูตร ข้อมูลที่ได้นี้นำไปใช้ในการให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับความก้าวหน้า จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุงให้แก่ผู้เรียนการตัดสินผลการเรียนรู้รวบยอดในเรื่องหรือหน่วยการเรียนรู้หรือในรายวิชา และการวางแผน ออกแบบการจัดการเรียนการสอนของครู

                ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์
( http://www.watpon.com/Elearning/mea1.htm )ได้กล่าวถึง การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เนื้อหมูชิ้นนี้หนัก 0.5 กิโลกรัมเป็นเนื้อหมูชิ้นที่เบาที่สุดในร้าน (เปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม) เด็กชายแดงได้คะแนนวิชาภาษาไทย 42 คะแนนซึ่งไม่ถึง 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน (ใช้เกณฑ์ที่ครูสร้างขึ้น) เป็นต้น
การประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท การประเมินแบบอิงกลุ่มและการประเมินแบบอิงเกณฑ์
                1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน นั่นคือเป็นการใช้เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่ม การประเมินแบบนี้มักใช้กับการ การประเมินเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ หรือการสอบชิงทุนต่าง ๆ
2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ เช่น การประเมินระหว่างการเรียนการสอนว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่

                สุชาดา กรเพชรปาณี (2551) ได้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนรู้ คือ
1.เป็นการตัดสินคุณค่าหรือตีคุณค่าของผลการเรียนรู้
2.ตัดสินว่าให้ผู้เรียนผ่านจุดประสงค์ก์การสอนหรือรายวิชาหรือไม่
3.ผู้ประเมินต้อ้องมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ประเมิน
4.ผู้ประเมินต้องมีความยุติธรรม
5.การประเมินแบบระดับขั้นหรือเกรด (Grade) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมาก


                สรุปการประเมินผลการเรียนรู้
                จากข้างต้น สรุปได้ว่า การประเมินผลการเรียนรู้ คือ กระบวนการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ ตีความ บันทึกข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมินทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยในการดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของการจัดการเรียนการสอนนับตั้งแต่ก่อนการเรียนการสอน ระหว่างการเรียนการสอน และหลังการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับพฤติกรรมที่ต้องการวัด นำผลที่ได้มาตีค่าเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดในตัวชี้วัดของมาตรฐานสาระการเรียนรู้ของหลักสูตร
                การประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท  คือ การประเมินแบบอิงกลุ่มและการประเมินแบบอิงเกณฑ์

ที่มา
                สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ . (2551). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
                ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ . [online] http://www.watpon.com/Elearning/mea1.htmการประเมินผล . เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2558.

                สุชาดา กรเพชรปาณี. (2551). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ชลบุรี : วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา.