วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การประเมินผลการเรียนรู้

                สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ (2551) ได้กล่าวถึงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน (Classroom Assessment) คือ กระบวนการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ ตีความ บันทึกข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมินทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยในการดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของการจัดการเรียนการสอนนับตั้งแต่ก่อนการเรียนการสอน ระหว่างการเรียนการสอน และหลังการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับพฤติกรรมที่ต้องการวัด นำผลที่ได้มาตีค่าเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดในตัวชี้วัดของมาตรฐานสาระการเรียนรู้ของหลักสูตร ข้อมูลที่ได้นี้นำไปใช้ในการให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับความก้าวหน้า จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุงให้แก่ผู้เรียนการตัดสินผลการเรียนรู้รวบยอดในเรื่องหรือหน่วยการเรียนรู้หรือในรายวิชา และการวางแผน ออกแบบการจัดการเรียนการสอนของครู

                ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์
( http://www.watpon.com/Elearning/mea1.htm )ได้กล่าวถึง การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เนื้อหมูชิ้นนี้หนัก 0.5 กิโลกรัมเป็นเนื้อหมูชิ้นที่เบาที่สุดในร้าน (เปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม) เด็กชายแดงได้คะแนนวิชาภาษาไทย 42 คะแนนซึ่งไม่ถึง 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน (ใช้เกณฑ์ที่ครูสร้างขึ้น) เป็นต้น
การประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท การประเมินแบบอิงกลุ่มและการประเมินแบบอิงเกณฑ์
                1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน นั่นคือเป็นการใช้เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่ม การประเมินแบบนี้มักใช้กับการ การประเมินเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ หรือการสอบชิงทุนต่าง ๆ
2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ เช่น การประเมินระหว่างการเรียนการสอนว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่

                สุชาดา กรเพชรปาณี (2551) ได้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนรู้ คือ
1.เป็นการตัดสินคุณค่าหรือตีคุณค่าของผลการเรียนรู้
2.ตัดสินว่าให้ผู้เรียนผ่านจุดประสงค์ก์การสอนหรือรายวิชาหรือไม่
3.ผู้ประเมินต้อ้องมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ประเมิน
4.ผู้ประเมินต้องมีความยุติธรรม
5.การประเมินแบบระดับขั้นหรือเกรด (Grade) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมาก


                สรุปการประเมินผลการเรียนรู้
                จากข้างต้น สรุปได้ว่า การประเมินผลการเรียนรู้ คือ กระบวนการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ ตีความ บันทึกข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมินทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยในการดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาของการจัดการเรียนการสอนนับตั้งแต่ก่อนการเรียนการสอน ระหว่างการเรียนการสอน และหลังการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับพฤติกรรมที่ต้องการวัด นำผลที่ได้มาตีค่าเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดในตัวชี้วัดของมาตรฐานสาระการเรียนรู้ของหลักสูตร
                การประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท  คือ การประเมินแบบอิงกลุ่มและการประเมินแบบอิงเกณฑ์

ที่มา
                สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ . (2551). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
                ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ . [online] http://www.watpon.com/Elearning/mea1.htmการประเมินผล . เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2558.

                สุชาดา กรเพชรปาณี. (2551). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ชลบุรี : วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น